ประวัติองค์กร

 
การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขึ้นที่จังหวัดลำพูนเมื่อพ.ศ. 2526 เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520–2524) ซึ่งกำหนดให้กระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคต่างๆและเพื่อการพัฒนาเมืองหลักเมืองรองของภาคต่างๆตามลำดับโดยกนอ. ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือปัจจุบันนั้นมีความเหมาะสมและมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคแรงงานวัตถุดิบทางการเกษตรระบบสื่อสารและการคมนาคม นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 และก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ใช้เงินทุนในการดำเนินการก่อสร้างรวมประมาณ 438 ล้านบาท

 

สถานที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตั้งอยู่ตำบลบ้านกลาง และตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน  บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 69 บนทางหลวงสายที่ 11 ช่วงระหว่างลำปาง-เชียงใหม่ ระยะทางจากกรุงเทพมหานครประมาณ  680 กิโลเมตร มีพื้นที่ตามประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมประมาณ 1,788 ไร่ บริเวณพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือประกอบด้วย
  • ทิศเหนือ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ได้แก่หมู่บ้านสันปูเลย บ้านเหล่า บ้านฮ่องกอม่วง
  • ทิศใต้ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม  และย่านชุมชน ได้แก่หมู่บ้านสันป่าฝ่าย บ้านสิงห์เคิ่ง บ้านร่องส้าว
  • ทิศตะวันออก เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและย่านชุมชน ได้แก่หมู่บ้านขี้เหล็ก บ้านแม่ยาก บ้านหอชัย
  • ทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ย่านชุมชนและที่พักอาศัย ได้แก่หมู่บ้านหนนองเป็ด ศรีบุญยืน ศรีบุญยืน-วังทอง

ระยะทางจากสถานที่สำคัญ เช่น สนามบินนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่  ระยะทาง 30 กม.  สถานีรถไฟจังหวัดลำพูน ระยะทาง 5 กม.  ศาลากลางจังหวัดลำพูน ระยะทาง 10 กม.  และสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์  ระยะทาง 7

 

สถานภาพการใช้ที่ดิน และสถานภาพโรงงาน

การใช้ประโยชน์ที่ดิน

พื้นที่ (ไร่)

  • เขตอุตสาหกรรมทั่วไป

363

  • เขตประกอบการเสรี

805

  • พื้นที่พาณิชย์กรรม

66

  • พื้นที่พักอาศัย

12

  • ที่ตั้งสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก

542

  • พื้นที่รวม

1,788

  • หมายเหตุ: ปัจจุบันไม่มีพื้นที่คงเหลือ
ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ

1. ถนนภายในนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

  • ถนนสายประธานเป็นถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต กว้าง 40 เมตร มีผิวจราจร 4 เลน และเกาะกลาง
  • ถนนสายรอง เป็นถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต  กว้าง 24 เมตร มีผิวจราจร 2 เลนและไหล่ทาง

2. ระบบประปา  เป็นระบบทรายกรองเร็ว ( Rapid Sand Filter )

  • แหล่งน้ำดิบ รับน้ำจากแม่น้ำกวง
  • กำลังการผลิตสูงสุด 36,000 ลบ.ม./วัน
  • ระบบน้ำ Reuse กำลังการผลิต 6,000 ลบ.ม./วัน
  • มีบ่อเก็บน้ำดิบขนาด 400,000 ลบ.ม.

3. ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง เป็นระบบเติมอากาศ (Aerated Lagoon) สามารถรับน้ำเสียจากโรงงานที่อยู่ในนิคมฯ ภาคเหนือได้สูงสุด 24,000 ลบ.ม/วัน ประกอบด้วย

  • บ่อบำบัดที่ 1 Aerated Pond มีขนาดพื้นที่บ่อ 9.3 ไร่ (14,800 ตารางเมตร) ลึก 4 เมตรความจุของบ่อ 12,000 ลบ.ม. ระยะเวลากักเก็บน้ำ 5 วันมีการติดตั้งเครื่องเติมอากาศแบบ Jet Aerator ขนาด 20 แรงม้าจำนวน 20 เครื่องเพื่อทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่แบคทีเรียในการกำจัดสิ่งสกปรกประเภทสารอินทรีย์ในน้ำเสีย
  • บ่อบำบัดที่ 2 Aerated Pond มีขนาดพื้นที่บ่อ 3.1 ไร่ (4,800 ตารางเมตร) ลึก 2.4 เมตรความจุของบ่อ 12,000 ลบ.ม. ระยะเวลากักเก็บน้ำ 1 วันมีการติดตั้งเครื่องเติมอากาศแบบ Jet Aerator ขนาด 20 แรงม้าจำนวน 8 เครื่องเพื่อทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่แบคทีเรียในการกำจัดสิ่งสกปรกประเภทสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งเพื่อลดภาระการทำงานของบ่อ 1 ซึ่งส่งผลทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  • บ่อบำบัดที่ 3 Aerated Pond มีขนาดพื้นที่บ่อ 11.35 ไร่ (19,000 ตารางเมตร) ลึก 2.5 เมตรความจุของบ่อ 45,000 ลบ.ม. ระยะเวลากักเก็บน้ำ 4 วันมีการติดตั้งเครื่องเติมอากาศแบบ Jet Aerator ขนาด 20 แรงม้าจำนวน 8 เครื่องเพื่อทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่แบคทีเรียในการกำจัด สิ่งสกปรกประเภทสารอินทรีย์ในน้ำเสียที่หลงเหลือจาก
  • บ่อบำบัดที่ 4 Oxidation Pond มีขนาดพื้นที่บ่อ 11.35 ไร่ (18,000 ตารางเมตร) ลึก 2.5 เมตรความจุของบ่อ 45,000 ลบ.ม. ระยะเวลากักเก็บน้ำ 4 วันมีการทำงานของแบคทีเรียทั้งแบบใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการกำจัดสิ่งสกปรกประเภทสารอินทรีย์ที่หลงเหลือจากบ่อ 3 โดยกระบวนการทางธรรมชาติ
  • บ่อบำบัดที่ 5 และบ่อบำบัดที่ 6 Oxidation Ponds มีขนาดพื้นที่บ่อ 11 ไร่ (17,600 ตารางเมตร) และ 10.4 ไร่ (16,640 ตารางเมตร) ลึกบ่อละ 1.4 เมตรความจุของบ่อ 26,400 ลบ.ม. และ 24,960 ลบ.ม. ระยะเวลากักเก็บน้ำ 2 วัน มีการฆ่าเชื้อโรคโดยอาศัยแสงแดดและมีการทำงานของแบคทีเรียแบบ ใช้ออกซิเจนในการกำจัดสิ่งประเภทสารอินทรีย์โดยออกซิเจนจะได้อากาศและการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ
  • บ่อพักน้ำก่อนระบายออนอกนิคมฯ Detention Reservoir พื้นที่บ่อ 18.3 ไร่ (29,280 ตารางเมตร) ความลึก 3.5 เมตรความจุของบ่อ 102,480 ลบ.ม. ระยะเวลากักเก็บน้ำ 8 วันเป็นบ่อพักน้ำฝนและน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วและมีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อนที่จะระบายออกสู่ แม่น้ำกวง หรือนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆเช่นใช้เป็นน้ำรดต้นไม้

4.ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม ประกอบด้วย

  • รางระบายน้ำคอนกรีต กว้าง 1.5 ม. – 3 ม. ระบายน้ำจากพื้นที่นิคมฯ ฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตก โดยวางท่อลอดถนนทางหลวงหมายเลข 11 และไหลลงแม่น้ำกวง
  • มีคันดินรอบพื้นที่นิคมฯ สูงประมาณ 1 ม. – 3 ม. ยาวประมาณ 9,500 ม.
  • ระบบสูบน้ำขนาด 15,000 ลบ.ม./ชม.
  • มีบ่อเก็บน้ำ (แก้มลิง) ความจุ 150,000 ลบ.ม.

5.ระบบไฟฟ้า

  • สถานีไฟฟ้าย่อย 2 แห่ง ของ กฟภ. ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมฯ มีขนาดรวม 120 เมกกะวัตต์ แรงดันไฟฟ้า 22 KV / 115 KV

6.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

  • บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ได้จัดเตรียมเลขหมายประมาณ 4,000 เลขหมาย สำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรม พร้อมด้วยระบบที่ทันสมัย อาทิ IDSL , ISDN เป็นต้น และบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจำนวน 960 พอร์ท

7.สิ่งอำนวยความสะดวกรอบนิคมฯ ภาคเหนือ ได้แก่

  • ถนนรอบๆ นิคมฯภาคเหนือ เป็นถนนทางหลวงหมายเลข 11และทางหลวงหมายเลข 1147 เชื่อมทางเข้า - ออก ของนิคมฯ ภาคเหนือ
  • มีศูนย์การค้า ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ เช่น แม๊คโคร บิ๊กซี 7-eleven
  • ธนาคาร โรงพยาบาล กสท.
  • สถานีตำรวจย่อย สภอ. เมืองลำพูน ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมฯ ภาคเหนือ
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดลำพูน

มูลค่าเงินลงทุนรวมของโรงงานที่เปิดดำเนินการจำนวน 79 โรงงาน

ลำดับที่

สัญชาตินักลงทุน

จำนวนโรงงาน

ร้อยละ

มูลค่าเงินลงทุนรวม (ล้านบาท)

ร้อยละ

  • 1

ญี่ปุ่น

39

49.37

93,710

78.98

  • 2

อเมริกัน

3

3.80

7,308

6.15

  • 3

ไทย

23

29.11

9,921

8.36

  • 4

เกาหลี

3

3.80

2,378

2.01

  • 5

สวิส

4

5.06

2,320

1.96

  • 6

ดัทช์

2

2.53

2,077

1.74

  • 7

ฝรั่งเศส

2

2.53

465

0.40

  • 8

ไต้หวัน

2

2.53

420

0.36

  • 9

อินเดีย

1

1.27

46

0.04

79

100.00

118,645

100.00

มูลค่าการนำเข้าและส่งออกผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
(ปี 2553-2560)

ปี พ.ศ.

มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท)

มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)

  • 2553

41,082.783

56,125.155

  • 2554

41,189.950

55,330.594

  • 2555

43,725.878

58,316.273

  • 2556

40,902.691

57,019.154

  • 2557

45,912.869

63,243.149

  • 2558

42,419.535

59,005.204

  • 2559

40,703.321

58,639.090

  • 2560

48,011.523

66,030.233

 

ที่มา: สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ

ณ มิถุนายน 2561

Banner Border